หนึ่งในคอมเมนต์บนโลกออนไลน์หลัง ‘เฟิร์ส’ ช่างแอร์วัย 35 ปี เจ้าของร้านเฟิสท์แอร์บ้าน จังหวัดนครปฐม โพสต์เตือนภัยเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า หลังจากเดินทางไปล้างแอร์ให้ลูกค้าที่มักสูบบุหรี่ไฟฟ้าในห้องแอร์เป็นประจำมาไม่ต่ำกว่าร้อยตัว นี่คือคำบอกเล่าจากสถิติที่เขาเก็บมาโดยตลอด จนสามารถคาดเดาได้ว่า
จริงเหรอที่บุหรี่ไฟฟ้า …ปลอดภัยกว่าบุหรี่มวน …ไม่ใช่ควัน แต่เป็นไอน้ำ …ช่วยเลิกสูบบุหรี่มวนได้ …มีนิโคตินน้อยกว่าบุหรี่มวน อันตรายน้อยกว่าฝุ่น PM 2.5 …ไม่เป็นอันตรายต่อคนรอบข้าง หรือน้องหมาน้องแมว ฯลฯ
หลายคนเลือกที่จะเลิกบุหรี่โดยหันมาใช้ ‘บุหรี่ไฟฟ้า’ แต่นี่เป็นความเข้าใจผิด ๆ เพราะบุหรี่ไฟฟ้าไม่ได้ช่วยให้เลิกบุหรี่ได้ และ ‘บุหรี่ไฟฟ้า อันตรายกว่าที่คิด’ ทั้งในแง่ของการใช้ในชีวิตและผลกระทบต่อสุขภาพ เพราะมีทั้งสารนิโคติน สารเคมี และโลหะหนักนานาชนิด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสารก่อมะเร็ง เป็นภัยอันตรายต่อปอด ซึ่งการที่บุหรี่ไฟฟ้ามีนิโคตินและมีไอระเหยที่มีกลิ่นหอมต่างๆ จะทำให้เกิดการเสพติดง่ายขึ้น นี่คือภัยคุกคามต่อสังคมขนาดย่อมและอันตรายกว่าที่คิดทั้งกับตัวคนสูบและคนรอบข้าง แม้ว่าสาเหตุการสูบบุหรี่ของแต่ละคนจะต่างกัน การเยียวยาตัวเองให้หลุดพ้นจากสิ่งดังกล่าว คงหนีไม่พ้น ‘จิตใจ’ ของตัวเอง
จากข้อมูลสถิติ การใช้บุหรี่ไฟฟ้าพบข้อมูลว่าประชากรช่วง 15-24 ปีกว่า 38% เข้าถึงและมีโอกาสสูบบุหรี่ไฟฟ้า และพบเยาวชนในสังคมไทยเข้าสู่บุหรี่ไฟฟ้าด้วยอัตราการเติบโตสูงถึง 5.3 เท่าในช่วงระยะเวลา 7 ปี สสส. และภาคีเครือข่ายรณรงค์ลดการไม่สูบบุหรี่ได้ทำการสำรวจ พูดคุยกับกลุ่มเป้าหมายในสังคม 1. ตัวผู้สูบพอต หรือบุหรี่ไฟฟ้า 2. ประชาชนผู้ใกล้ชิดตัวผู้สูบที่มีผลต่อการเลิกหรือสูบพอตของกลุ่มเป้าหมาย 3. ประชาชนในสังคมทั่วไป พบว่าประชาชนมีความรู้ความเข้าใจถึงอันตรายของบุหรี่ไฟฟ้าที่ไม่ถูกต้อง ยังมีความเข้าใจว่าบุหรี่ไฟฟ้าอันตรายน้อย อันตรายน้อยและควบคุมได้ หรือในบางรายเข้าใจผิดว่าบุหรี่ไฟฟ้าไม่มีอันตราย สืบเนื่องมาจาก อุตสาหกรรมบุหรี่ ได้ให้ข้อมูลอันตรายไม่ครบถ้วน หรือไม่ได้บอกประชาชนถึงอันตราย รวบถึงสร้างงานวิจัยหลายตัวที่ให้ข้อมูลไม่ครบด้าน และนำมาสื่อสารว่าบุหรี่ไฟฟ้าอันตรายน้อยให้คนในโลกและสังคมเข้าใจผิด
ควันจากบุหรี่ไฟฟ้า แท้จริงคือ “ละอองฝอยน้ำมันขนาดจิ๋ว อันตรายกว่าที่คิด”