ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา( COVID-19) นอกจาการสวมใส่หน้ากากอนามัย การอยู่ห่างกับคนรอบข้างอย่างน้อย 1-2 เมตรแล้ว การล้างมือบ่อยๆ ก็เป็นวิธีที่ง่าย ช่วยลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อ และยังช่วยลดการแพร่กระจายของเชื้อได้อีกด้วย
ใครๆ ก็รู้ว่า การมีเพศสัมพันธ์เป็นเรื่องธรรมชาติ แต่พอเป็นเพศสัมพันธ์ในวัยรุ่นกลับเป็นเรื่องทำใจยากของใครหลายคน ซึ่งความกังวลเหล่านี้เป็นเรื่องเข้าใจได้ อย่างไรก็ตาม การห้ามหรือคอยไปเฝ้าจับตามองวัยรุ่นที่มีฮอร์โมนพลุ่งพล่านตลอดเวลาก็คงเป็นไปได้ยาก ซ้ำร้ายจะกลับกลายเป็นการปิดโอกาสในการพูดคุย และให้คำแนะนำที่ถูกต้องแก่วัยรุ่น ซึ่งอาจทำให้มีปัญหาตามมาคือ วัยรุ่นจำนวนหนึ่งตัดสินใจลองผิดลองถูก หรือเลือกรับข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง จนก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ไม่พึงประสงค์
“โจน จันได” เชื่อว่าหลายคนเคยได้ยินชื่อนี้ เขาคือผู้ชายที่สอนคนให้สร้างบ้านดิน ชวนคนให้กินอาหารที่ทำเองปลูกเอง แถมยังทำเรื่องใหญ่ที่ไม่มีใครคิดทำ อย่างการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์เพื่อเป็นสมบัติแก่คนไทยต่อไป แต่ที่สำคัญคือการเป็นแรงบันดาลใจให้กับคนยุคใหม่ลองถอยชีวิตกลับไปมีความสุขกับธรรมชาติ จนถึงขนาดถูกเชิญให้ไปพูดตามเวทีระดับโลกมาแล้วหลายครั้ง ดังนั้นเมื่อเราถามคุณโจน จันได ถึงเรื่องการกินผักผลไม้ ที่ตอนนี้หลายคนอาจกำลังกังวลว่าจะกินดีไหม ทั้งที่รู้ว่าดีต่อร่างกาย แต่ข่าวการใช้สารเคมีก็น่ากลัว คุณโจน จันได ก็ได้ให้คำแนะนำ และทางออกสำหรับเราทุกคน ตามมาฟังกัน
ทุกวันนี้คนไทยกินผักและผลไม้น้อยยยยย..มาก เฉลี่ยแค่วันละ 186 กรัมเท่านั้น ทั้งๆที่องค์การอนามัยโลก( WHO) แนะนำว่าคนเราควรกินผักผลไม้ อย่างน้อยวันละ 400 กรัม ใช่ องค์การอนามัยโลกแนะนำให้กิน วิชาสุขศึกษา คุณครูพ่อแม่ผู้ปกครอง นักวิชาการ หรือใครๆ ก็บอกว่า กินผักเยอะมันดีมีประโยชน์ แต่เชื่อเลยว่า จะต้องมีคนตอบว่า “ก็รู้ว่ามันดี แต่....” ไม่ว่าเหตุผลของแต่ละคนคืออะไร แต่ยังไง เราก็...ยังอยากให้คุณกินผักอยู่ดีนะ
หลายๆคนพอจะกินผักผลไม้ ก็มักเลือกกินแต่ชนิดที่คุ้นเคยหรือตัวเองชอบ กินเมนูซ้ำๆ เดิมๆ อย่าง มื้อประจำต้องผัดกะเพรา ราดหน้าทีไรมีแต่คะน้า พาไปกินอาหารจีนถามหาแต่กวางตุ้ง ฯลฯ ซึ่งการกินผักนั้นดี แต่ถ้าเป็นผักชนิดที่ไม่ได้ปลูกได้ตามฤดูนั้น อาจจะเป็นผักและผลไม้ที่น่าสงสัยว่าจะผ่านสมรภูมิปุ๋ยเคมีและสารกำจัดศัตรูพืชมานับไม่ถ้วนหรือเปล่า เพื่อให้ได้ผลผลิตที่สวยและเจริญงอกงามดี โดนเร่งเก็บเกี่ยวให้ทันกับความต้องการของตลาด ทำให้ผู้บริโภคอย่างเราต้องเสี่ยงกับการได้รับสารตกค้างเข้าร่างกาย จนอาจเกิดอันตรายตามปริมาณความมากน้อยของสารพิษที่ได้รับ